เผยแพร่ข้อมูลการป้องกันประโยชน์ทับซ้อน สสอ.ทุ่งช้าง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้างขอเผยแพร่การป้องกันประโยชน์ทับซ้อน

                     


คู่มือ การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
 






โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
อำเภอปัว  จังหวัดน่าน

คำนำ
                   คู่มือการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
ได้รวบรวมหลักการและแนวคิด พร้อมตัวอย่างเพื่อการบริหารจัดการระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน
กับผลประโยชน์สาธารณะที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งเป็นสถานการณ์
ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลประโยชน์ส่วนตนอยู่ และได้ใช้อิทธิพลตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว โดยก่อให้เกิดผลเสียต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ในหลายรูปแบบไม่เฉพาะในรูปของตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ในรูปตัวเงินหรือทรัพย์สินด้วย  คู่มือเล่มนี้จะนำเสนอถึงหลักการ แนวคิด กรณีตัวอย่างพร้อมข้อเสนอแนวทางนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อลดปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ให้หมดไปในที่สุด
                   หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว  รวมถึงผู้มารับบริการและประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจศึกษาแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารและเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุดต่อไป


                   โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
                                                                   มี.ค. 2561





                                                                                                                 




สารบัญ
                                                    หน้า
ความหมายของผลประโยชน์ทับซ้อน                                                                      ๑

หลักการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน                                                                      4

แนวทางจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน                                                                       5
(การให้ – การรับของขวัญ และผลประโยชน์)

สถานการณ์ตัวอย่าง                                                                                          9

โทษของการฝ่าฝืน                                                                                          10

ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยา
ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2560                                              11

แนวทางปฏิบัติตามจรรยาบรรณ กระทรวงสาธารณสุข (MOPH Code of Conduct)        16

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน                                   30







-หน้า 1-

ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict Of Interests Of Interests )
                  ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of interest : COI) เป็นประเด็นปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยังสะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
ความหมาย : สำนักงาน ก.พ.
                 สถานการณ์หรือการกระทำของบุคคล (ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้บริหาร) มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง จนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น การกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนาหรือบางเรื่องเป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งผิดแต่อย่างใดพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกระทำความผิดทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ (ประโยชน์ของส่วนรวม) แต่กลับตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง
ประเภทของผลประโยชน์ทับซ้อน      
               ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interests) องค์กรสากล คือ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) นิยามว่าเป็นความทับซ้อนระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ทับซ้อน มี ๓ ประเภท คือ
               ๑. ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นจริง (actual) มีความทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน
และสาธารณะเกิดขึ้น
               ๒. ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เห็น (perceived & apparent) เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนที่คนเห็นว่ามี
แต่จริงๆ อาจไม่มีก็ได้ ถ้าจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนประเภทนี้อย่างขาดประสิทธิภาพ ก็อาจนำมาซึ่งผลเสียไม่น้อยกว่าการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นจริง ข้อนี้แสดงว่า เจ้าหน้าที่ไม่เพียงแต่จะต้องประพฤติตนอย่างมีจริยธรรมเท่านั้น แต่ต้องทำให้คนอื่น ๆ รับรู้และเห็นด้วยว่าไม่ได้รับประโยชน์เช่นนั้นจริง
               ๓. ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เป็นไปได้ (potential) ผลประโยชน์ส่วนตนที่มีในปัจจุบันอาจจะทับซ้อนกับผลประโยชน์สาธารณะได้ในอนาคต





-หน้า 2-
หน้าที่ทับซ้อน (conflict of duty)
หน้าที่ทับซ้อน (conflict of duty) หรือผลประโยชน์เบียดซ้อนกัน (competing interests)  มี ๒ ประเภท
               ๑. ประเภทแรก เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่มีบทบาทหน้าที่มากกว่าหนึ่ง เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและ เป็นคณะกรรมการด้านระเบียบวินัยประจำหน่วยงานด้วย ปัญหาจะเกิดเมื่อไม่สามารถแยกแยะบทบาทหน้าที่ทั้งสองออกจากกันได้อาจทำให้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือ แม้กระทั่งเกิดความผิดพลาดหรือผิดกฎหมาย ปกติหน่วยงานมัก
มีกลไกป้องกันปัญหานี้ โดยแยกแยะบทบาทหน้าที่ต่างๆ ให้ชัดเจน แต่ก็ยังมีปัญหาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานที่มีกำลังคนน้อยหรือมีเจ้าหน้าที่บางคนเท่านั้นที่สามารถทำงานบางอย่างที่คนอื่นๆ ทำไม่ได้ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยห่วงปัญหานี้กันเพราะดูเหมือนไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนมาเกี่ยวข้อง
               ๒. ประเภทที่สอง เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่มีบทบาทหน้าที่มากกว่าหนึ่งบทบาท และการทำบทบาทหน้าที่ในหน่วยงานหนึ่งนั้นทำให้ได้ข้อมูลภายในบางอย่างที่อาจนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่การทำบทบาทหน้าที่ให้แก่อีกหน่วยงานหนึ่งได้ ผลเสียคือ ถ้านำข้อมูลมาใช้ก็อาจเกิดการประพฤติมิชอบหรือความลำเอียง/อคติต่อคนบางกลุ่ม             ควรถือว่าหน้าที่ทับซ้อนเป็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย เพราะว่ามีหลักการจัดการแบบเดียวกัน นั่นคือ การตัดสินใจทำหน้าที่ ต้องเป็นกลางและกลไกการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนก็สามารถนำมาจัดการกับหน้าที่ทับซ้อนได้
ความหมายและประเภทของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
               ความขัดแย้ง (Conflict ) สถานการณ์ที่ขัดกัน ไม่ลงรอยเป็นเหตุการณ์อันเกิดขึ้นเมื่อบุคคลไม่สามารถตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้จากความไม่ลงรอยกันในเรื่อง ความคิด แนวทางปฏิบัติ หรือผลประโยชน์
               ผลประโยชน์ส่วนตน (Private Interests) เป็นผลตอบแทนที่บุคคลได้รับโดยเห็นว่ามีคุณค่าที่                                  จะสนองตอบความต้องการของตนเองหรือของกลุ่มที่ตนเองเกี่ยวข้อง ผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจให้คนเรามีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนองความต้องการทั้งหลาย (เพ็ญศรี วายวานนท์, 2527 : 154, 2527 : 154 ,2527 : 154 ) ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interests) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ให้ประโยชน์สุขแก่บุคคลทั้งหลายในสังคม ผลประโยชน์สาธารณะยังหมายรวมถึงหลักประโยชน์ต่อมวลสมาชิกในสังคม  




-หน้า 3-

ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict Of Interests)
               เป็นสถานการณ์ที่บุคคลในฐานะพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ในการแสวงประโยชน์แก่ตนเอง กลุ่มหรือพวกพ้อง ซึ่งเป็นการละเมิดทางจริยธรรม และ ส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ คำอื่นที่มีความหมายถึงความขัดแย้งกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ได้แก่ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ และรวมถึงคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย คอร์รัปชั่นสีเทา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
               เจ้าหน้าที่รัฐมีความสัมพันธ์กับรัฐ 2 สถานะ คือ 1.) เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ และ 2.) ประชาชน ในฐานะผู้ใช้อำนาจรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรต้องมีกฎหมายให้อำนาจ และในฐานะประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐจะทำอะไรก็ได้ถ้าไม่มีกฎหมายห้าม ดังนั้นในงานปฏิบัติหน้าที่ราชการเจ้าหน้าที่รัฐต้องแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกันห้ามกระทำการใดที่ขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม และเจ้าหน้าที่รัฐพึงหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนี้
               1. มีฐานความคิดในลักษณะบูรณาการ ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องส่วนรวมออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง
               2. มีฐานคิดในเรื่องการตอบแทนบุญคุณ โดยเฉพาะบุญคุณทางการเมือง
               3. มีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่สุรุ่ยสุร่าย ทำให้รายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย
               4. มีความจำเป็นในการรักษาตัวรอด เพื่อลดการเผชิญปัญหา เน้นเรื่องวัตถุนิยม การอยากมีอยากได้  5โครงสร้างทางการบริหาร และการมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล ฝ่ายตรวจสอบยังขาดความเข้าใจและระบบการตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพ
               6. ปัจจัยด้านกฎหมาย บทลงโทษทางกฎหมายยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันและปราบปราม
จุดเสี่ยงของผลประโยชน์ทับซ้อน
               1. การปฏิสัมพันธ์กับภาคเอกชน
               2. การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
               3. การตรวจตราเพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานของการทำงาน
               4. การอนุมัติ / อนุญาต ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ
               5. การกระจายงบประมาณ
               6. การปรับการลงโทษ
               7. การให้เงินหรือสิ่งของช่วยเหลือผู้เดือดร้อน การตัดสินข้อพิพาท
          8. การรับของขวัญของกำนันจากผู้ที่มาติดต่ออั

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้างเผยแพร่ประกาศผลการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการในระดับดีเด่นและดีมากประจำปีงบประมาณ2562 งวดที่ 1/62