เผยแพร่คู่มือเรื่องราวร้องทุกข์ สสอใทุ่งช้าง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้างเผยแพร่ข้อมูลเรื่องราวร้องทุกข์

คู่มือการปฏิบัติงาน
เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์


ร้องเรียน/ร้องทุกข์ทั่วไป
ร้องเรียนเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง






จัดทำโดย
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง
อำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน



คำนำ
คู่มือปฏิบัติงานด้านการร้องเรียน/ร้องทุกข์(เรื่องร้องเรียนทั่วไปและเรื่องร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้าง) ของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง  ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการปฏิบัติงานด้านรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง  ทั้งในเรื่องร้องเรียนทั่วไปและร้องเรียนด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ การจัดการข้อร้องเรียนจนได้ข้อยุติ ให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มารับบริการ จำเป็นจะต้องมีขั้นตอน/กระบวนการ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน




คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง























สารบัญ
เรื่อง
หน้า


หลักการและเหตุผล
1
วัตถุประสงค์
1
คำจำกัดความ
1
ช่องทางการร้องเรียน
3
การแบ่งประเภทความเสี่ยง
3
แนวทางการรายงานความเสี่ยง
5
แผนผังกระบวนการทำงาน
6
ขอบเขตการบริหารจัดการ
7



























คู่มือการปฏิบัติงานรับเรื่องราวร้องทุกข์/ร้องทุกข์
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง

1. หลักการและเหตุผล
    ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติราชการ มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน  โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเพื่อตอบสนองความต้องการ
ของประชาชน  ให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่องานบริการมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการให้บริการ ไม่มีขั้นตอนปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจให้ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนได้รับการอำนวยการความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ และมีการประเมินผลการให้บริการสม่ำเสมอ
2. วัตถุประสงค์
    2.1  เพื่อให้การดำเนินงานจัดการข้อร้องเรียนขอสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง มีขั้นตอน/ กระบวนการ และแนวทางปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนที่ได้รับจากช่องทางการร้องเรียนต่าง ๆ โดยกระบวนการและวิธีการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    2.2  เพื่อให้ความคิดเห็น/คำร้องเรียนของผู้รับบริการได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม และนำไปสู่การปรับปรุงระบบงานให้ดีขึ้น
    2.3  เพื่อเป็นแนวทางขั้นต้นในการเจรจาต่อรองไกล่เกลี่ย เพื่อป้องกันการฟ้องร้อง
    2.4  เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ได้ใส่ใจและทบทวนข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
    2.5  เพื่อสร้างความมั่นใจในกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการจัดการข้อข้องเรียนได้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนด ระเบียบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
3. คำจำกัดความ
    เรื่องร้องเรียน  หมายถึง คำร้องเรียนจากผู้ป่วย ญาติ ผู้มารับบริการ ประชาชนทั่วไป รวมถึงบุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการหรือความคาดหวัง ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ และแจ้งขอให้ตรวจสอบแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนการดำเนินการ
    ข้อเสนอแนะ หมายถึง คำร้องเพื่อแจ้งให้ทราบ หรือแนะนำ เพื่อการปรับปรุงระบบการบริการ สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ของโรงพยาบาล
    ผู้ร้องเรียน หมายถึง ผู้ป่วย ญาติ ผู้มารับบริการ ประชาชน องค์กรภาครัฐ เอกชน ผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนผู้มาติดต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ครอบคลุมการร้องเรียน/การให้ข้อเสนอแนะ/การให้ข้อคิดเห็น/การชมเชย/การสอบถาม หรือการร้องขอข้อมูล
    ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน หมายถึง ช่องทางที่สามารถรับ-ส่งเรื่องร้องเรียนได้ ประกอบด้วยตู้แสดงความคิดเห็น งานประชาสัมพันธ์ หนังสือถึงผู้อำนวยการ ร้องเรียนด้วยตนเอง ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ Line อีเมลล์ หรือช่องทางอื่นๆ เช่น ผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
    การจัดการข้อร้องเรียน หมายถึง การจัดการในเรื่อง ข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น คำชมชย การสอบถาม หรือการร้องขอข้อมูล
    การเจรจาต่อรอง ไกล่เกลี่ย ขั้นต้น หมายถึง การที่มีคณะกรรมการเจรจาต่อรองฯ ของหน่วยงาน เจรจาไกล่เกลี่ยเฉพาะก่อนหน้า เมื่อพบเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะฟ้องร้องหรือร้องเรียน
    คณะกรรมการจัดการข้อร้องเรียนของหน่วยงาน หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการข้อร้องเรียน/ชมเชยของหน่วยงาน
    ระดับความรุนแรง แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับความรุนแรง
นิยาม
ตัวอย่างเหตุการณ์
เวลาในการตอบสนอง
ผู้รับผิดชอบ
1
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
ผู้ร้องเรียนไม่ได้รับความเดือดร้อนแต่มาติดต่อเพื่อให้ข้อเสนอแนะ/ให้ข้อคิดเห็น/ชมเชย ในการให้บริการ
การเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการและสถานที่ รพ.สต.
ไม่เกิน 5 วันทำการ
หน่วยงาน
2
ข้อร้องเรียน
เล็กน้อย
ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อน
แต่มีการพูดคุย และสามารถแก้ไขได้
โดยหน่วยงานเดียว
-การร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
-การร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ
ไม่เกิน 15
วันทำการ
หน่วยงาน
3
ข้อร้องเรียนเรื่องใหญ่
-ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อน มีการโต้แย้งเกิดขึ้น ไม่สามารถแก้ไขได้โดยหน่วยงานเดียว ต้องอาศัยทีมไกล่เกลี่ย และอำนาจคณะกรรมการบริหารในการแก้ไข
-เรื่องที่สร้างความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของ รพ.สต.
-การร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดวินัยร้ายแร้งของเจ้าหน้าที่
-การร้องเรียนความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อจัดจ้าง
-การร้องเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ค อีเมลล์ เว็บไซต์ กระทู้ต่าง ๆ เป็นต้น
ไม่เกิน 30
วันทำการ
-ทีมไกล่เกลี่ย
-คณะกรรมการบริหารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้าง 
4
การฟ้องร้อง
ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อน และร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หรือผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด หรือมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น
การเรียกร้องให้หน่วยงานชดเชยค่าเสียหายจากการให้บริการที่ผิดพลาด (ม.41)
ไม่เกิน 60
วันทำการ
-ทีมไกล่เกลี่ย
-คณะกรรมการบริหารสสอ.ทุ่งช้าง
-หัวหน้าหน่วยงาน

4. ช่องทางการร้องเรียน
    4.1 ร้องเรียนผ่านกล่องรับความคิดเห็น (จดหมาย/บัตรสนเท่ห์/เอกสาร)
    4.2 ร้องเรียนผ่านไปรษณีย์ปกติ (จดหมาย/บัตรสนเท่ห์/เอกสาร)
    4.3 ร้อนเรียนด้วยตนเอง (จดหมาย/บัตรสนเท่ห์/เอกสาร)
    4.4 ร้องเรียนผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 0-54-795-104
    4.5 ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของ https//www.Facebook.com ssothungchang.blogspot.com
    4.6 ร้องเรียนผ่านทาง เพจ https// www.Facebook.com
    4.7 ร้องเรียนผ่านไลด็กลุ่ม สสอ.ทุ่งช้าง

5. การแบ่งประเภทความเสี่ยง             
    5.1 การแบ่งระดับความรุนแรงความเสี่ยงด้านคลินิก (Clinical risk)
ระดับ
ผลกระทบ
การจัดกลุ่ม
A
ไม่มีอุบัติการณ์เกิดขึ้น แต่มีโอกาสทำให้เกิดอุบัติการณ์ขึ้นได้ หรือถ้าไม่ให้ความสนใจที่อาจเกิดอุบัติการณ์ขึ้น

Near Miss
B
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นแต่ไม่เป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่เนื่องจากอุบัติการณ์นั้นไม่ไปถึงตัวผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่
C
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ / แม้อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถึงตัวผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่
Low risk
D
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ / แต่ยังจำเป็นต้องมีการติดตามดูแลและเฝ้าระวังเพิ่มเติม
E
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นและเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ เพียงชั่วคราว รวมถึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาหรือแก้ไขเพิ่มเติม
Moderate Risk
F
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นและเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ เพียงชั่วคราว รวมถึงต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือยืดระยะเวลาในการรักษา ตัวในโรงพยาบาล ออกไป
G
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นและเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่ / เกิดความ พิการอย่างถาวร
High Risk
H
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ จนเกือบถึงแก่ชีวิต
I
มีอุบัติการณ์เกิดขึ้นและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ จนถึงแก่ชีวิต






    5.2 การแบ่งระดับความรุนแรงความเสี่ยงทั่วไป (Non clinical risk)
ระดับ
ผลกระทบ
การจัดกลุ่ม
1
เป็นเรื่องปกติอาจก่อกวนหรือสร้างความรำคาญยังไม่เกิดความเสียหาย
Near Miss
2
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินแต่สามารถแก้ไขปัญหาได้หรือผู้ป่วยไม่พอใจแจ้งเจ้าหน้าที่
Low risk
3
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างมากซึ่งสามารถแก้ไขได้แต่อาจต้องสูญเสียบางอย่างไป หรือผู้ป่วยไม่พอใจต้องให้ รพ.รับผิดชอบโดยแจ้งหัวหน้างานหรือ ผู้อำนวยการโดยตรง
Moderate risk
4
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียง รพ.อย่างรุนแรงไม่สามารถแก้ไขได้หรือผู้ป่วย ไม่พอใจอย่างมากต้องการให้ รพ.รับผิดชอบโดยฟ้องร้องผ่านองค์กรภายนอก
High risk



    5.3 ด้านการเงิน / ทรัพย์สินสูญหาย คิดมูลค่า แบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับ            
ระดับ
มูลค่าเสียหาย
การจัดกลุ่ม
1
มีโอกาสสูญเสียทรัพย์สินแต่ยังไม่เกิดความเสียหาย
Near Miss
2
< 1,000 บาท
Low risk
3
1,000 -10,000บาท
Moderate risk
4
> 10,000 บาท
High risk
    5.4 Sentinel event :  คือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่รุนแรงสูงสุด ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งผู้ที่ทราบข้อมูลต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบอย่างเร่งด่วน แบ่งเป็น ๒ ด้าน ได้แก่
         5.4.1   Sentinel event  ด้านการรักษาพยาบาล (Medical)
                   1) การเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยไม่คาดหมาย (ทุกสาเหตุ)
                       -   จากอุบัติเหตุขณะอยู่รักษาในรพ.สต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งช้างเผยแพร่ประกาศผลการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการในระดับดีเด่นและดีมากประจำปีงบประมาณ2562 งวดที่ 1/62